PDPA: การประมวลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวพิเศษ(Special Categories or Sensitive Data)
20 มิ.ย. 2566
PDPA: การประมวลข้อมูลส่วนบุคคลอ่อนไหวพิเศษ(Special Categories or Sensitive Data)
นับตั้งแต่ ข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนา ปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ โดยจะต้องได้รับความยินยอมชัดแจ้งจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 รวมถึงข้อยกเว้นของการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหวดังกล่าวโดยไม่ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล โดยแบ่งเป็น 7 หมวด
1.Vital Interest
รักษาประโยชน์อันจำเป็นต่อชีวิต ร่างกายหรือสุขภาพของบุคคล
ในกรณีเจ้าของข้อมูลประสบเหตุอันตรายต่อชีวิต รวมถึงเฝ้าระวังการแพร่กระจายโรคระบาด และภัยพิบัติที่เกิดขึ้น
2. Social Protection & Non-profit
ดำเนินกิจกรรมตามกฎหมายที่มีการคุ้มครองที่เหมาะสมขององค์กร ทางการเมือง ศาสนา ปรัชญา และสหภาพแรงงาน ได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูล เช่น ประมวลผลข้อมูล ทางศาสนา สุขภาพของสมาชิกในโบสถ์ มีข้อยกเว้นการยินยอเพื่อนำไปใช้การประมวลผลแค่บุคคลในโบสถ์ รวมถึงไม่เปิดเผยต่อบุคคลที่ 3
3. Manifestly made public
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะด้วยความยินยอมโดยชัดแจ้งของเจ้าของข้อมูลนั้น แม้ว่าประเภทของเจ้าของข้อมูล ในนามบุคคลธรรมดา หรือ เจ้าหน้าที่ของรัฐ สามารถเข้าถึงได้โดยความประสงค์เจ้าของข้อมูล
4. Legal Claim
เพื่อการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย ปฏิบัติตามหรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย เพื่อการใช้สิทธิเรียกร้อง เช่น ในกรณีที่ผู้ทรงสิทธิเรียกร้องอยู่ระหว่างการเตรียมคำฟ้องเพื่อขอให้ศาลยุติธรรมบังคับตามสิทธิเรียกร้องของตน ซึ่งการเตรียมคำฟ้องตังกล่าวนั้นทนายความผู้รับมอบอำนาจ มีความจำเป็นเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่ 3
5. Preventive or Occupational Medicine
ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางเวชศาสตร์ป้องกัน หรืออาชีวเวชศาสตร์ การจะได้รับยกเว้นในกรณีนี้จะต้องปรากฏความจำเป็นกับการรวบรวมข้อมูล ซึ่งรวมถึง
5.1.ประเมินความสามารถในการทำงานของลูกจ้าง
5.2.วินิจฉัยโรคทางการแพทย์
5.3.ให้บริการด้านสุขภาพหรือด้านสังคม
5.4.รักษาทางการแพทย์
5.5.จัดการด้านสุขภาพ
5.6.ระบบและให้บริการด้านสังคมสงเคราะห์
ต้องเป็นการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กับผู้ประกอบวิชาชีพ ทางการแพทย์
6. Archiving, Scientific or Historical Research
ปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ด้านการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สถิติ
หรือ ประโยชน์สาธารณะอื่น การได้รับยกเว้นเพื่อกระทำให้บรรลุวัตถุประสงค์
เพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น การทำการศึกษาวิจัยเรื่องธนาคารทรัพยากร (Biobank)
ความจำเป็นที่จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว
เพื่อใช้ในการวิจัยอื่นๆต่อไป ซึ่งนักวิจัยจะไม่สามารถบอกเจ้าของข้อมูลถึงวิจัยในอนาคระหว่างการเก็บข้อมูล ซึ่งการเก็บข้อมูลดังกล่าวนั้นได้จัดให้มีมาตรการที่เหมาะสม เพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน และ ประโยชน์ของเจ้าของข้อมูล ส่วนบุคคล ตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
7. Substantial Public Interest
เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความอ่อนไหว ที่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อประโยชน์สาธารณะที่มีความสำคัญ โดยสามารถยกตัวอย่างได้
เช่น
7.1. ปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ
7.2. ปฏิบัติหน้าที่ของสภานิติบัญญัติ
7.3. ดำเนินการเพื่อสร้างความเท่าเทียม
7.4. ดำเนินการเพื่อสร้างความหลากหลายด้านชาติพันธุ์
7.5. ป้องกันการดำเนินการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
7.6. คุ้มครองสาธารณชนจากการกระทำอันไม่สุจริต (ซึ่งหมายรวมถึงการดำเนินการของ สื่อมวลชนเกี่ยวกับการกระทำอันไม่สุจริต)
7.7 ป้องกันการฉ้อโกง
7.8 ต้องสงสัยเกี่ยวกับการสนับสนุนทางการเงินสำหรับการก่อการร้ายหรือการฟอกเงิน
7.9 ให้ความช่วยเหลือบุคคลผู้พิการหรือต้องได้รับความช่วยเหลือทางการแพทย์
7.10 ให้คำปรึกษา
7.11 ช่วยเหลือเด็กหรือผู้ที่ตกอยู่ในภาวะเสี่ยง
7.12 ช่วยเหลือทางด้านสวัสดิการ (ทางด้านเศรษฐกิจ)
7.13 ประกันภัย
7.14 บำนาญ
7.15 พรรคการเมือง
7.16 เผยแพร่คำพิพากษา
7.17 ป้องกันการใช้สารต้องห้ามในการแข่งกีฬา
หากท่านมีข้อสงสัย หรือ ต้องการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยเหลือในการแบ่งเก็บประเภทของข้อมูล สามารถติดต่อได้ที่ Contact us: A Star Technology team ทางเราจะช่วยดูแลข้อสงสัยของคุณได้ทันท่วงที
แหล่งที่มา
ศูนย์วิจัยและพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ขอบเขตข้อมูลส่วนบุคคล(Scope).2019. www.law.chula.ac.th :https://www.law.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/TDPG2.0-C5-20191009.pdf)ตุลาคม 2019