PDPA: การประมวลผลข้อมูล
16 มิ.ย. 2566
PDPA: การประมวลผลข้อมูล
การสังเกตและการแบ่งประมวณผลข้อมูลส่วนบุคคล โดยแบ่งออกเป็น 2หมวดใหญ่
1. การประมวลผลตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในเชิงเนื้อหา (Material Scope) นับเป็นเรื่องที่ไม่ต้องขอความยินยอม
ก. รวบรวมข้อมูลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และกิจกรรมของครอบครัว
ข. ดำเนินการของหน่วยงานรัฐ เช่น ป้องกันและปราบปรามฟอกเงิน นิติวิทยาศาสตร์
และการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์
ค. สื่อสารมวลชน ศิลปกรรม วรรณกรรรม เพื่อประกอบวิชาชีพ หรือประโยชน์สาธารณะ เท่านั้น
ง. พิจารณาตามหน้าที่ และ อำนาจของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา รวมคณะกรรมธิการ แต่งตั้งโดยสภา
จ. พิจารณาของศาล และกระบวนการพิจารณาคดี การบังคับคดี วางทรัพย์ และกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ฉ. ดำเนินการข้อมูลเครดิต และสมาชิกตามกฎหมาย ประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต
2. การประมวลผลตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 นามเชิงพื้นที่ (Territorial Scope)
ก. ผู้ประกอบการที่มีบริษัท หรือ สาขาอยู่ในประเทศไทย แต่ดำเนินการประมวลผล นอกเขตประเทศไทย หรือในเขตประเทศไทย
ข. ผู้ประกอบการที่ไม่มีสาขาและบริษัทในไทย
-กรณีเสนอขายและบริการ แบบมีคิดค่าธรรมเนียม หรือไม่คิด
-ติดตาม และ จัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมเจ้าของข้อมูลใน ประเทศไทย โดยการเก็บข้อมูลเกิดในประเทศไทย
การประมวลผลดังกล่าวจะมีอายุความ หรือการดำเนินการต่อเนื่องอย่างไร
สามารถติดต่อเพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ Contact us: A Star Technology team
แหล่งที่มา
1.ศูนย์วิจัยและพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล(Scope).2019. www.law.chula.ac.th :https://www.law.chula.ac.th/wp-content/uploads/2019/10/TDPG2.0-C5-20191009.pdf)ตุลาคม 2019